วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental science) คือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ และมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของการอยู่ร่วมกันภายในระบบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ที่มีบทบาท และความสำคัญต่อมนุษย์เป็นหลักสำคัญ โดยจะเน้นถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้หลักการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ มาเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีขั้นตอนและมีเงื่อนไข สำหรับการค้นคว้าหาความจริงต่างๆ ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นได้แก่ การสังเกต, การบันทึก, การทดลอง และขบวนการให้เหตุผล แต่ยังคงพิจารณาถึง ชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในสภาพธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์ยุ่งเกี่ยวโดยตรงด้วย หรืออยู่เป็นระบบที่จะมีบทบาทโดยตรง หรือต่อมนุษย์ไม่มีทางใดก็ทางหนึ่ง สามารถรวมถึง พืช สัตว์ ทะเล น้ำ ดิน อากาศได้ เป็นต้น จนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้กับแบบฉบับของชีวิต หรือนำไปปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้เหมาะต่อคุณภาพชีวิตที่ดีได้

การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้นมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้เรียกว่าเป็นการศึกษาสิ่งแวดล้อม แต่จะเป็นการศึกษาเฉพาะทาง เช่น การศึกษาทางภูมิศาสตร์ วนศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สาธารณสุข ฯลฯ แต่ด้วยเหตุที่มีการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อมนุษย์ จึงมีการพัฒนารูปแบบการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้น แต่แนวทางในการศึกษาจะต้องใช้ความรู้หลายๆ ด้าน มาผสมผสานกันเพื่อก่อให้เกิดหลักการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมจึงต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน เพราะวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นกระบวนการที่นำไปสรุปอย่างมีกฎเกณฑ์และเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาสิ่งแวดล้อม มีแนวทางในการศึกษาที่ชัดเจนถูกต้องและเป็นระบบยิ่งขึ้น

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาสิ่งแวดล้อมได้ดังนี้

1. ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หาชนิด ปริมาณ สัดส่วน และการกระจายของสิ่งแวดล้อม เช่น การหาปริมาณหรือชนิดของสิ่งของมีชีวิตในระบบนิเวศเป็นต้น

2. ศึกษาความสัมพันธ์ทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

3. ศึกษากรับวนการเกิดมลสารหรือสารพิษในระบบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าบำบัดมลพิษในสิ่งแวดล้อม

4. ศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการผลิต ต้องไม่สร้างปัญหาให้แก่สิ่งแวดล้อม

5. ศึกษาการป้องกันและกำจัดของเสียจากกระบวนการในระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ นอกจากนี้ยังต้องศึกษาวิธีกำจัดของเสียเหล่านั้นให้สามารถใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่มนุษย์จะใช้ดำรงชีวิตได้ เช่น การนำขยะมูลฝอยมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น

6. ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพลังงาน ทั้งในการประยุกต์ใช้และรูปแบบของการอนุรักษ์ เช่น การใช้พลังงานทดแทนจากน้ำ ลม แสงอาทิตย์ เป็นต้น

7. ศึกษาพฤติกรรมและบทบาทของมนุษย์ ในกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมว่ามีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างไร เช่น การใช้ที่ดิน การใช้ทรัพยากรป่าไม้น้ำ แร่ อากาศ เป็นต้น

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นที่ช่วยพิสูจน์หาความจริงหรือปรากฏการณ์ของสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยหลักการและวิธีการผสมผสาน อันจะนำมาเพื่อความอยู่รอดและคุณภาพของชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป 

Explore More

เครื่องวัดมลพิษทางอากาศ

เครื่องวัดมลพิษ
August 18, 2022 0 Comments 1 tag

มลพิษ คือของเสีย วัตถุอันตราย และมวลสารอื่นๆ ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อม หรือเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ได้ อีกทั้งยังหมายรวมถึง รังสี ความร้อน แสง สี เสียง กลิ่น หรือเหตุทำให้รำคาญอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งมลพิษเหล่านี้ต่างก็เรียกว่ามลพิษสิ่งแวดล้อม โดยสาเหตุของมลพิษดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดสิ่งเจือปนหรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ทั้งในรูปของสสารและพลังงาน สารมลพิษในสิ่งแวดล้อมสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ มลพิษที่สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีการชีววิทยา, มลพิษที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามวิธีการชีววิทยา และมลพิษที่เป็นก๊าซ เช่น

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ
October 13, 2022 0 Comments 1 tag

 ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า “สิทธิการใช้น้ำ” (Water rights) ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ 1. ใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภค

อุปสรรคและโอกาสของพลังงานทางเลือก 

พลังงานทางเลือก
September 11, 2023 0 Comments 1 tag

พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ ฯลฯ พลังงานทางเลือกมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศ ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ  อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและการนำพลังงานทางเลือกมาใช้ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคและโอกาสหลายประการ ดังนี้  อุปสรรคของพลังงานทางเลือก  โอกาสของพลังงานทางเลือก  จากอุปสรรคและโอกาสของพลังงานทางเลือกข้างต้น รัฐบาลและภาคเอกชนจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการนำพลังงานทางเลือกมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยอาจดำเนินการดังต่อไปนี้  การส่งเสริมพลังงานทางเลือกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศ ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ